วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

Right way

 




 เมื่อต้องเจอสภาวะ จากเหตุปัจจัยที่เป็นมิจจาปฏิปทา ผลักดันให้ทำไม่ดี ไม่งาม การเกิดปัญญา เป็นหลักธรรมที่กำกับเราให้รู้แจ้ง สิ่งดี ไม่ดี สิ่งงาม ไม่งาม มีสติสัมปชัญญะ ทำให้ระลึกรู้ตื่นรู้อยู่เสมอ  และความศรัทธาเชื่อมั่นในหลักหริโอตตัปปะ คือมีความเกรงกลัวและละอายต่อบาป เพียงเท่านี้ เราก็จะอยู่ในแนวทางสัมมาปฏิปทา กระทำแต่กรรมดี ดำรงตนอยู่ในความถูกต้อง ดีงาม …

Midway life

 

  • ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
    การปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธธรรม มีหลักสำคัญคือทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)  ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น ตามความสามารถของตน และต้องกระทำด้วยตนเองด้วยความตระหนักในความรับผิดชอบของตน ด้วยหลักอัปปมาทธรรม และมีปัจจัยภายนอกตามหลักกัลยาณมิตร ที่จะมาช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจะเกิดผลสำเร็จที่แท้จริง การจะเข้าใจความหมายทางสายกลาง ต้องเข้าใจว่าชีวิตคืออะไรตามที่ท่านพระธรรมปิฎกได้กล่าวไว้ในหลัก มัชเฌธรรมเทศนา อย่างลึกซึ้งก่อน แล้วหากนำไปใช้ประโยชน์นั้นจะต้องฝึกปฏิบัติพัฒนาตนเองตามแนวทางไตรสิกขา คือศีล (พฤติกรรมแสดงออกทางกายวาจา) สมาธิ (จิตใจที่เป็นเจตจำนงคุณธรรมความรู้สึกปัญญา (ความรู้ คิด หยั่งเห็น เข้าใจชัดแจ้งการฝึกตามไตรสิกขา ให้รู้แจ้งด้วยอริยสัจ ออกผลเกิดวิถีชิวิตแห่งมรรคหรือจากรู้แจ้งสภาวะตามจริงสู่การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ คือมรรค 8 ข้อ ที่ต้องใช้เสมอคือ 1.สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นหรือเข้าใจถูกต้อง)2. สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง)และ3.สัมมาสมาธิ (สมาธิถูกต้อง) ทั้ง 3 องค์แห่งมรรคนี้ ถือเป็นพรหมจริยะ ทั้งนี้หัวใจสำคัญการก่อเกิดสัมมาทิฏฐิ นั้นคือปรโตโฆษะ (เสียงจากผู้อื่นหรือการเรียนรู้จากผู้อื่น)และโยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดพิจารณาหรือทำในใจโดยแยบคาย) สู่ องค์มรรคที่4.ส้มมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) ซึ่งเมื่อมีสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีลำดับขั้นต้นคือสัมมาทิฏฐิโลกียะ แล้วก็จะนำไปสู่การขจัดตัณหาเกิดกุศลกรรม  หรือใช้องค์มรรที่5.สัมมากัมมันตะ(การปฏิบัติที่ถูกต้อง) 6. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) 7.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง)ในการปฏิบัติทางกายวาจา (ศีล)  แล้วประณีตขึ้นสู่การฝึกอบรมจิตเกิดสมาธิ และครองสติไว้ด้วยองค์แห่งมมรรคที่ 8.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) เจริญสมาธิจนถึงระดับสูงสุดคือการมี สัมมาทิฏฐิโลกุตระ เจริญด้วยปัญญา ขจัดอวิชชาจนหลุดพ้นสังขารวัฏ สู่การบรรลุนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา…
  • การดำเนินชีวิตของตัวเราและโลกรอบตัวให้เกิดการเรียนรู้สู่เป้าหมายการมีชิวิต 100 ปีที่มีความสุข สงบเย็น เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น ได้จริงในชาตินี้
  •  AWATTA  ตรงกับ คำภาษาไทย ว่า อวัฏฏะ ความหมายที่ข้าต้องการสื่อคือ การหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร หรือ สภาวะที่จิตใจปล่อยวางจากเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้ใจว่างสงบ เพื่อเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า นั่นเองครับ …แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย ให้หลุดจากโลกความจริง หากแต่ มุ่งหวังให้อยู่กับโลกปัจจุบัน อย่างมีสุข ครับ ดังคำกล่าวท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ว่า " สงบเย็น เป็นประโยชน์ " ...
  • Midway life หรือทางสายกลาง เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ผสมผสานเพื่อสร้างการเรียนรู้ในด้านโลกุตระ สู่วิถีกำหนดการดำเนินชีวิตในโลกียะวิถีที่พอเหมาะ พอควร อันเป็นรูปธรรม มีหลักสำคัญคือ หลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง หลักคุณธรรม หลักแห่งกรรมและวิบากกรรม  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ดำรงอยู่ดี อยู่เลิศ อยู่อย่างมีความหมาย หรืออยู่อย่างมีจิตวิญญาณ โดยได้อ้างอิงจาก หนังสือคู่มือมนุษย์ หนังสือพุทธธรรม หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง สู่ วิถีบวรศุข คือ ทำบุญ ทำทาน ถือศีล ตั้งจิตภาวนาและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน .. ทั้งนี้การเรียนรู้สภาวะภพชาติและการหลุดพ้นดังกล่าวจะจำลองขึ้นที่ต้นแบบคือ AWATTA  Live Self-Learning space (แรงบันดาลใจจากโรงมหรสพทางวิญญาณของท่านพุทธทาสภิกขุ) ทั้งนี้ช่องทางการล็อกอินเข้าผ่านทาง AWarp cafe สู่ วิถีบวรศุข คือ AWA space Simulator ที่มุ่งให้เห็นภาพสะท้อนจากการกระทำของตนเองที่ส่งผลลัพธ์เกิดตามมาอย่างไร ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นรอบข้างและสังคมส่วนรวม ผลลัพธ์สำคัญคือผู้เรียนต้องออกแบบวิถีชีวิตตนเองให้อยู่ในโลกเป็นจริง และดำเนินต่อไป อย่างมีสติสัมปชัญญะ...
  • การเรียนรู้โลกแห่งความเป็นจริง เพื่อการมีชิวิตชีวาที่เป็นสุข (โลกียสุข ) ที่สงบเย็น (โลกุตระสุข) และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยรูปธรรมทั้งสองส่วนบูรณาการหลอมรวมเป็น“บวร ศุข วิถี”สู่รูปแบบที่จับต้องได้คือ การจัดการเครือข่ายการบริการ “บวร ศุข วิถี” ที่อบอุ่นเหมือนบ้าน ได้รู้แจ้งแห่งตนเช่นที่วัดและได้รับความรู้เหมือนโรงเรียน รูปแบบบริการ “บวร ศุข วิถี” อาทิเช่น บวร ศุข สเตชั่น หรือบวร ศุข คลินิก หรืออุทยานบวร ศุข นั่นเอง …และที่สำคัญที่สุด ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นที่ตัวเราต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ เท่ากับ หลอกลวงตัวเองและผู้อื่น หลังจากนั้นขยายผลสู่คนรอบข้าง องค์กรอื่นและสังคมภายนอกต่อไป…

Buddha way

 




ตุสิตธัมโม
21 ตุลาคม 2560
บทความปฐมเทศนา เมือครั้งบวชครั้งที่ 2 ในชีวิตถวายเป็นพระราชกุศล ในหลวงรัชกาลที่ 9 
บุญ กุศล วาสนาและบารมี
ตามคติธรรมของเราชาวพุทธ
เจริญพร ท่านสาธุชน และญาติโยม ผู้มีจิตเป็นกุศล
ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า 
เรื่องบังเอิญนั้นไม่มี ด้วยเพราะ มีเหตุ จึงมี ผล
การที่พวกเราทั้งหลายมาประชุมกันในที่แห่งนี วันนี้ ก็ด้วย พระบารมี แห่งสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีทำให้เกิดโครงการอุปสมบทเพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในหลวงรัชกาลที่ 9 และด้วยพระบารมีของพระองค์ท่าน เป็นโอกาสให้ญาติ โยมทั้งหลายได้มาร่วมทำบุญกุศลร่วมกัน
หรือกล่าวได้ว่า เป็นโอกาสให้ผู้มีวาสนามาพบกันเพื่อทำบุญกุศลร่วมกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แน่นอน เรื่องวาสนา บารมี บุญกุศล ตามคติธรรม ชาวพุทธ นั้นเป็นผลจากกรรมหรือการกระทำ ส่งผลเป็นวิบาก เป็นบุญหรือบาป ที่ส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นผูกพันเป็น ภพชาติ
วาสนา เป็นการสั่งสมบุญและบาปทีเรากระทำแล้วส่งผลในภพชาตินี้และภพชาติหน้า จึงมีทั้งวาสนาดีหรือวาสนาไม่ดี
บารมี เป็นการสะสมบุญ และกุศล ที่เกิดผลได้ 3 ระดับ คือบารมีระดับต้น บารมีระดับกลาง(อุปบารมีและระดับสูงสุด คือปรมัตถบารมี
ดังนั้น เมื่อเรามีวาสนาร่วมกันแล้ว ควรที่จะทำบุญ สร้างกุศลร่วมกัน เพื่อสร้างสะสมบารมี ด้วย อย่างไรก็ดี คำว่า บุญ กับ กุศล มีความแตกต่างกัน คือ 
บุญ คือความรู้สึกพองโตขึ้น หรือปิติสุขทางใจทีได้กระทำ สิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม)
กุศล แปลตรงตัวว่า การแผ้วถางให้ราบเตียน หรือจิตที่ตัดขาดจากกิเลสตัณหา หรือการตัดขาดจากอกุศล ฉะนั้นการทำบุญ ทำได้ดังนี้ คือ
การทำทาน จะเกิดความปิติ อิ่มบุญ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เกิดสังคมที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แต่หากทำทานโดยไม่ลดความโลภ ย่อมไม่เกิดกุศลกรรม
การรักษาศีล ทำให้มีความสงบสุข สังคมเกิดสันติสุข แต่หากรักษาศีลโดยไม่ลดความโกรธ ความหลง ย่อมไม่เกิดกุศลกรรม
การสวดมนต์ ภาวนา อธิษฐาน ให้เจริญสติ สมาธิ โดยไม่มี ปัญญาให้รู้เท่าทันอวิชชาหรืออกุศล ย่อมไม่เกิดกุศลกรรม
กล่าวโดยสรุป เราชาวพุทธ เมื่อมาทำบุญแล้วควรต้องทำจิตให้เป็นกุศล และลดละอกุศลกรรม จึงจะเกิดบุญกุศล เมื่อเรากระทำบุญกุศล ต่อเนื่อง จะเกิดบารมี ที่ส่งผลทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า
ท้ายที่สุดนี้ ด้วยบุญกุศลที่ทุกท่านได้กระทำ และพระบารมี ของพระพุทธเจ้า จงอำนวยพรให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดไป เทอญ
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้


เจริญพร

Buddha

 

ศาสนาพุทธ 
มีหลักธรรมคำสอนที่เป็นแก่นแท้ที่สำคัญคือการสอนให้คิดรู้เท่าทันกฎธรรมชาติหรือความเป็นจริงโดยไม่ยึดติดทฤษฎี แต่เป็นการนำไปสู่การกำหนดแนวทางประพฤติปฏิบัติในชิวิตที่ถูกต้องดีงามและเหมาะสม ซึ่งเรียกโดยรวมว่า พุทธธรรม ที่มีลักษณะสำคัญ แบ่งได้ 2 อย่าง คือ มัชเฌธรรมเทศนา ที่หลักคำสอนเพื่อการจะเข้าใจความเป็นจริงตามธรรมชาติว่า ชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร และชีวิตเป็นไปอย่างไร เมื่อรู้และเข้าใจดังกล่าวแล้วจึงนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายชีวิตว่าเราเป็นบรรชิต หรือฆราวาส แล้วจึงกำหนดแนวทางการดำเนินของชิวิตควรเป็นอยู่อย่างไรหรือคือหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือแนวทางปฏิบัติสายกลาง เพื่อการบรรลุเป้าของชิวิตตนเอง ในการได้เกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ประเสริฐ เพื่อความเข้าใจหลักการเบื้องต้นตามแนวทางพุทธศาสนาที่มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออธิบายเนื้อหายึดตามความในหนังสือที่เป็นหลัก 2 เล่มคือ พุทธธรรม ฉบับเดิม และคู่มือมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
2.1.1 มัชเฌธรรมเทศนา หรือหลักความจริงสายกลาง ที่เป็นการแสดงความจริงตามแนวเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ หรือหลักสัจธรรม ที่นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น โดยการสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุขและสังคมโลกที่มีสันติสุข โดยความเป็นจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ อธิบายได้ดังนี้
ชีวิตคืออะไร
พุทธธรรม มองเห็นสิ่งสิ่งต่างๆในรูปของส่วนประกอบต่างๆที่มาประชุมรวมกันเข้า ตัวตนแท้ๆของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆที่มาประกอบกันเข้านั้นออกหมดก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ เมื่อพุทธธรรมมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปการประชุมรวมกันของส่วนประกอบเช่นนี้ จึงอธิบายว่าองค์ประกอบของชีวิตจะแสดงแบบขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ คือ รูปเวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณ กล่าวคือ รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมดทั้งร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ สัญญา ได้แก่การความกำหนดได้ หรือรู้ความหมาย หรือหมายรู้คือรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้นๆได้ สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต ที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ โดยมีเจตนาเป็นตัวนำ พูดง่ายๆ คือความนึกคิดดีชั่วต่างๆ เช่น ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โมหะ โทสะ โลภะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น วิญญาณ ได้แก่ความรู้แจ้งทางอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ คือ การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกายและการรู้อารมณ์ทางใจ
ชีวิตเป็นไปอย่างไร
หลักพุทธธรรม ที่ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมร่วมกันของส่วนประกอบนั้น แท้จริงแล้วสิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปของกระแส เป็นไปตามกฎหรือสภาวะ อทัปปัจจยตา ที่แบ่งได้ 2 หมวด คือไตรลักษณ์ ที่มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลายเป็น 3 อย่างคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ กระแสนี้ดำเนินต่อไปโดยอาการสัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท 12 ข้อ นับตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ หรือเป็นวงล้อแห่งสังสารวัฏ ที่เกิดเป็นวงจรตามหน้าที่ 3 พวกคือกิเลส (ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกรรม (กระบวนการกระทำและวิบาก (สภาพชีวิตที่เป็นผลจากการปรุงแต่งของกรรมเกิดเป็น กองทุกข์ปัจจุบันซึ่งเป็นผลจากอดีต เข้าสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆที่เป็นหตุปัจจุบัน ที่จะทำให้เกิดผลในอนาคตต่อไปอีกเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการจะเข้าใจสภาวะความเป็นจริงดังกล่าว พุทธธรรม มีหลักธรรมสำคัญคืออริยสัจจ์ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรค โดยปฏิจจสมุปบาท  เป็นตัวกระบวนธรรมที่เป็นแกนกลางของอริยสัจจ์โดยปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร คือกระบวนการเกิดทุกข์ ส่วนปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร เป็นกระบวนการดับทุกข์
2.1.2 มัชฌิมาปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติสายกลาง เป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จคือความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในชิวิตนี้ ในทางปฏิบัติความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบ อื่นๆ ของสภาพการดำรงชีวิต ของบรรชิต หรือ คฤหัสถ์ หรืออาจกล่าวได้ว่าข้อปฏิบัติสายกลางนี้เป็นจริยธรรม ที่ถือเอาผลประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย แล้วนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตว่าควรเป็นอยู่อย่างไรนั่นเอง โดยมัฌชิมาปฏิปทาต่อเนื่องจาก มัฌเฌนธรรมเทศนา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงปฏิปทาไว้ 2 อย่างคือ มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้คือ
มิจฉาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ผิดหรือทางที่ผิด คือทางให้เกิดทุกข์ก็คือปฏิจจสมุปบาทสมุทัยวาร หรือกระบวนการเกิดทุกข์ ที่เริ่มต้นจาก อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เกิดเป็นทุกข์
สัมมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ถูกหรือทางที่ถูก คือทางให้ดับทุกข์ ) ก็คือปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร หรือกระบวนการดับทุกข์ ที่เริ่มจาก ทุกข์ ศรัทธา ปราโมทย์ ปิติ ปัสสิทธิ สุข สมาธิ ยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ ขยญาณ เกิดการดับทุกข์
ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
การปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธธรรม มีหลักสำคัญคือทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)  ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น ตามความสามารถของตน และต้องกระทำด้วยตนเองด้วยความตระหนักในความรับผิดชอบของตน ด้วยหลักอัปปมาทธรรม และมีปัจจัยภายนอกตามหลักกัลยาณมิตร ที่จะมาช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจะเกิดผลสำเร็จที่แท้จริง การจะเข้าใจความหมายทางสายกลาง ต้องเข้าใจว่าชีวิตคืออะไรตามที่ท่านพระธรรมปิฎกได้กล่าวไว้ในหลัก มัชเฌธรรมเทศนา อย่างลึกซึ้งก่อน แล้วหากนำไปใช้ประโยชน์นั้นจะต้องฝึกปฏิบัติพัฒนาตนเองตามแนวทางไตรสิกขา คือศีล (พฤติกรรมแสดงออกทางกายวาจา) สมาธิ (จิตใจที่เป็นเจตจำนงคุณธรรมความรู้สึกปัญญา (ความรู้ คิด หยั่งเห็น เข้าใจชัดแจ้งการฝึกตามไตรสิกขา ให้รู้แจ้งด้วยอริยสัจ ออกผลเกิดวิถีชิวิตแห่งมรรคหรือจากรู้แจ้งสภาวะตามจริงสู่การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ คือมรรค 8 ข้อ ที่ต้องใช้เสมอคือ 1.สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นหรือเข้าใจถูกต้อง)2. สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง)และ3.สัมมาสมาธิ (สมาธิถูกต้อง) ทั้ง 3 องค์แห่งมรรคนี้ ถือเป็นพรหมจริยะ ทั้งนี้หัวใจสำคัญการก่อเกิดสัมมาทิฏฐิ นั้นคือปรโตโฆษะ (เสียงจากผู้อื่นหรือการเรียนรู้จากผู้อื่น)และโยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดพิจารณาหรือทำในใจโดยแยบคาย) สู่ องค์มรรคที่4.ส้มมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) ซึ่งเมื่อมีสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีลำดับขั้นต้นคือสัมมาทิฏฐิโลกียะ แล้วก็จะนำไปสู่การขจัดตัณหาเกิดกุศลกรรม  หรือใช้องค์มรรที่5.สัมมากัมมันตะ(การปฏิบัติที่ถูกต้อง) 6. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) 7.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง)ในการปฏิบัติทางกายวาจา (ศีล)  แล้วประณีตขึ้นสู่การฝึกอบรมจิตเกิดสมาธิ และครองสติไว้ด้วยองค์แห่งมมรรคที่ 8.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) เจริญสมาธิจนถึงระดับสูงสุดคือการมี สัมมาทิฏฐิโลกุตระ เจริญด้วยปัญญา ขจัดอวิชชาจนหลุดพ้นสังขารวัฏ สู่การบรรลุนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา…

Time

 



ชีวิต สสาร พลังงาน และ ความว่างเปล่า กับจักรวาลอันกว้างใหญ่ เวิ้งว้าง ไร้ขอบเขต หนังสือเล่มนี้ เขียนให้เราคนธรรมดาเข้าใจฟิสิกส์ดีขึ้นมาก มากกว่าตอนมัธยมหรือมหาลัยเลยทีเดียว…

AWATTA 2

 



ตามหลักคิดทางพุทธศาสนา ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น ตัวตนหรืออัตตา ที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ การรู้ สมุทัยย่อมเข้าใจสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ได้แก่กิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือมักพูดแบบคนทั่วไปว่าทุกข์ส่วนใหญ่มีเหตุจาก รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง นิโรธคือแนวทางการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์สู่ความสงบสุข นั้นท่านให้ดับที่เหตุแห่งทุกข์ และมรรค 8 คือวิธีการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ ตามพุทธวิถี นั่นเอง ทั้งนี้การขัดเกลากิเลสตัณหา อุปาทาน นั้นย่อมต้องใช้หลัก ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้กระทำกรรมดีหรือสัมมาปฏิปทา ละเว้นไม่ทำสิ่งไม่ดีหรือมิจฉาปฏิปทา อย่างไรก็ตาม เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ที่แม้รู้แจ้งโลกุตรธรรม แต่การดำรงตนแบบฆราวาส นั้นย่อมต้องมีการยึดมั่น เพื่อการมีชีวิตรอดและอยู่ร่วมผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขหรือสงบสุข ต้องดำเนินชีวิตตามแนวทางมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง (อ้างอิงจาก หนังสือ คู่มือมนุษย์ หนังสือพุทธธรรม) ซึ่งหลักธรรมที่สำคัญ นั่นคือ หลักคุณธรรม ทำกรรมดี เช่นอิทธิบาท 4เพื่ออยู่รอดและสังคหวัตถุ 4 เพื่ออยู่ร่วม การสร้างแรงบันดาลใจให้อยู่เลิศ คือมีพรหมวิหาร 4 และการอยู่อย่างมีความหมาย อย่างมีจิตวิญญาณคือการตั้งเป้าหมายนิพพานหรือการหลุดพ้นทุกข์ ...



AWATTA 1

  


AWATTA คือ การนำเสนอหลักการ หลักธรรม ที่มุ่งสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบ ศึกษาค้นคว้าเชิงทฤษฎี ที่นำไปสู่ ความรอบรู้และปัญญา เพื่อนำไปกำหนด กรอบแนวคิดที่ใช้ สร้างการเรียนรู้ในด้านโลกุตระวิถี หรือเปลี่ยนความคิดติดยึด (Mindset) ทั้งหลาย สู่การไปสู่กรอบความคิดใหม่ (Paradigm shift) ตัวอย่าง ธรรมหนึ่งกำมือที่ข้าพเจ้าเรียนรู้มา ในการศึกษาแนวพุทธศาสนา ดังนี้…
 สิ่งแรกที่เราต้องเรียนรู้ ความจริงแท้ของชีวิตเป็นอะไร คือ ต้องรู้ ต้องเข้าใจ หลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นคือทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้น จากความไม่มีตัวตน เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ด้วยความทุกข์จากปฏิกิริยาเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยความไม่แน่นอน และมีการหมุนเวียน เปลี่ยนผัน เป็นวัฏจักร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่นนี้ ชั่วกัปชั่วกัลป์ …หลักธรรมสำคัญ ที่จะทำให้เราเข้าใจ ไตรลักษณ์ของชีวิต คือ อริยสัจจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค …ตามหลักคิดทางพุทธนั้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น ตัวตนหรืออัตตา ที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ การรู้สมุทัยย่อมเข้าใจ สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ได้แก่กิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือมักพูดแบบคนทั่วไปว่า ทุกข์ส่วนใหญ่มีเหตุจาก รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง นิโรธคือแนวทางการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์สู่ความสงบสุข นั้นท่านให้ดับที่เหตุแห่งทุกข์ และมรรค 8 คือวิธีการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ ตามพุทธวิถี นั่นเอง ทั้งนี้การขัดเกลากิเลสตัณหา อุปาทาน นั้นย่อมต้องใช้หลัก ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้กระทำกรรมดีหรือสัมมาปฏิปทา ละเว้นไม่ทำสิ่งไม่ดีหรือมิจฉาปฏิปทา...

Right way

   เมื่อต้องเจอสภาวะ จากเหตุปัจจัยที่เป็นมิจจาปฏิปทา ผลักดันให้ทำไม่ดี ไม่งาม การเกิดปัญญา เป็นหลักธรรมที่กำกับเราให้รู้แจ้ง สิ่งดี ไม่ดี สิ...