ตามหลักคิดทางพุทธศาสนา ทุกข์นั้นเกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น ตัวตนหรืออัตตา ที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ การรู้ สมุทัยย่อมเข้าใจสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ได้แก่กิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือมักพูดแบบคนทั่วไปว่าทุกข์ส่วนใหญ่มีเหตุจาก รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง นิโรธคือแนวทางการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์สู่ความสงบสุข นั้นท่านให้ดับที่เหตุแห่งทุกข์ และมรรค 8 คือวิธีการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ ตามพุทธวิถี นั่นเอง ทั้งนี้การขัดเกลากิเลสตัณหา อุปาทาน นั้นย่อมต้องใช้หลัก ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้กระทำกรรมดีหรือสัมมาปฏิปทา ละเว้นไม่ทำสิ่งไม่ดีหรือมิจฉาปฏิปทา อย่างไรก็ตาม เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ที่แม้รู้แจ้งโลกุตรธรรม แต่การดำรงตนแบบฆราวาส นั้นย่อมต้องมีการยึดมั่น เพื่อการมีชีวิตรอดและอยู่ร่วมผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขหรือสงบสุข ต้องดำเนินชีวิตตามแนวทางมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง (อ้างอิงจาก หนังสือ คู่มือมนุษย์ หนังสือพุทธธรรม) ซึ่งหลักธรรมที่สำคัญ นั่นคือ หลักคุณธรรม ทำกรรมดี เช่นอิทธิบาท 4เพื่ออยู่รอดและสังคหวัตถุ 4 เพื่ออยู่ร่วม การสร้างแรงบันดาลใจให้อยู่เลิศ คือมีพรหมวิหาร 4 และการอยู่อย่างมีความหมาย อย่างมีจิตวิญญาณคือการตั้งเป้าหมายนิพพานหรือการหลุดพ้นทุกข์ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น