- ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไรการปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธธรรม มีหลักสำคัญคือทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น ตามความสามารถของตน และต้องกระทำด้วยตนเองด้วยความตระหนักในความรับผิดชอบของตน ด้วยหลักอัปปมาทธรรม และมีปัจจัยภายนอกตามหลักกัลยาณมิตร ที่จะมาช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจะเกิดผลสำเร็จที่แท้จริง การจะเข้าใจความหมายทางสายกลาง ต้องเข้าใจว่าชีวิตคืออะไรตามที่ท่านพระธรรมปิฎกได้กล่าวไว้ในหลัก มัชเฌธรรมเทศนา อย่างลึกซึ้งก่อน แล้วหากนำไปใช้ประโยชน์นั้นจะต้องฝึกปฏิบัติพัฒนาตนเองตามแนวทางไตรสิกขา คือศีล (พฤติกรรมแสดงออกทางกายวาจา) สมาธิ (จิตใจที่เป็นเจตจำนงคุณธรรมความรู้สึก) ปัญญา (ความรู้ คิด หยั่งเห็น เข้าใจชัดแจ้ง) การฝึกตามไตรสิกขา ให้รู้แจ้งด้วยอริยสัจ ออกผลเกิดวิถีชิวิตแห่งมรรคหรือจากรู้แจ้งสภาวะตามจริงสู่การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ คือมรรค 8 ข้อ ที่ต้องใช้เสมอคือ 1.สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นหรือเข้าใจถูกต้อง)2. สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง)และ3.สัมมาสมาธิ (สมาธิถูกต้อง) ทั้ง 3 องค์แห่งมรรคนี้ ถือเป็นพรหมจริยะ ทั้งนี้หัวใจสำคัญการก่อเกิดสัมมาทิฏฐิ นั้นคือปรโตโฆษะ (เสียงจากผู้อื่นหรือการเรียนรู้จากผู้อื่น)และโยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดพิจารณาหรือทำในใจโดยแยบคาย) สู่ องค์มรรคที่4.ส้มมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) ซึ่งเมื่อมีสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีลำดับขั้นต้นคือสัมมาทิฏฐิโลกียะ แล้วก็จะนำไปสู่การขจัดตัณหาเกิดกุศลกรรม หรือใช้องค์มรรที่5.สัมมากัมมันตะ(การปฏิบัติที่ถูกต้อง) 6. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) 7.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง)ในการปฏิบัติทางกายวาจา (ศีล) แล้วประณีตขึ้นสู่การฝึกอบรมจิตเกิดสมาธิ และครองสติไว้ด้วยองค์แห่งมมรรคที่ 8.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) เจริญสมาธิจนถึงระดับสูงสุดคือการมี สัมมาทิฏฐิโลกุตระ เจริญด้วยปัญญา ขจัดอวิชชาจนหลุดพ้นสังขารวัฏ สู่การบรรลุนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา…
- การดำเนินชีวิตของตัวเราและโลกรอบตัวให้เกิดการเรียนรู้สู่เป้าหมายการมีชิวิต 100 ปีที่มีความสุข สงบเย็น เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น ได้จริงในชาตินี้
- AWATTA ตรงกับ คำภาษาไทย ว่า อวัฏฏะ ความหมายที่ข้าต้องการสื่อคือ การหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร หรือ สภาวะที่จิตใจปล่อยวางจากเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้ใจว่างสงบ เพื่อเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า นั่นเองครับ …แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย ให้หลุดจากโลกความจริง หากแต่ มุ่งหวังให้อยู่กับโลกปัจจุบัน อย่างมีสุข ครับ ดังคำกล่าวท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ว่า " สงบเย็น เป็นประโยชน์ " ...
- Midway life หรือทางสายกลาง เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ผสมผสานเพื่อสร้างการเรียนรู้ในด้านโลกุตระ สู่วิถีกำหนดการดำเนินชีวิตในโลกียะวิถีที่พอเหมาะ พอควร อันเป็นรูปธรรม มีหลักสำคัญคือ หลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง หลักคุณธรรม หลักแห่งกรรมและวิบากกรรม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ดำรงอยู่ดี อยู่เลิศ อยู่อย่างมีความหมาย หรืออยู่อย่างมีจิตวิญญาณ โดยได้อ้างอิงจาก หนังสือคู่มือมนุษย์ หนังสือพุทธธรรม หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง สู่ วิถีบวรศุข คือ ทำบุญ ทำทาน ถือศีล ตั้งจิตภาวนาและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน .. ทั้งนี้การเรียนรู้สภาวะภพชาติและการหลุดพ้นดังกล่าวจะจำลองขึ้นที่ต้นแบบคือ AWATTA Live Self-Learning space (แรงบันดาลใจจากโรงมหรสพทางวิญญาณของท่านพุทธทาสภิกขุ) ทั้งนี้ช่องทางการล็อกอินเข้าผ่านทาง AWarp cafe สู่ วิถีบวรศุข คือ AWA space Simulator ที่มุ่งให้เห็นภาพสะท้อนจากการกระทำของตนเองที่ส่งผลลัพธ์เกิดตามมาอย่างไร ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นรอบข้างและสังคมส่วนรวม ผลลัพธ์สำคัญคือผู้เรียนต้องออกแบบวิถีชีวิตตนเองให้อยู่ในโลกเป็นจริง และดำเนินต่อไป อย่างมีสติสัมปชัญญะ...
- การเรียนรู้โลกแห่งความเป็นจริง เพื่อการมีชิวิตชีวาที่เป็นสุข (โลกียสุข ) ที่สงบเย็น (โลกุตระสุข) และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยรูปธรรมทั้งสองส่วนบูรณาการหลอมรวมเป็น“บวร ศุข วิถี”สู่รูปแบบที่จับต้องได้คือ การจัดการเครือข่ายการบริการ “บวร ศุข วิถี” ที่อบอุ่นเหมือนบ้าน ได้รู้แจ้งแห่งตนเช่นที่วัดและได้รับความรู้เหมือนโรงเรียน รูปแบบบริการ “บวร ศุข วิถี” อาทิเช่น บวร ศุข สเตชั่น หรือบวร ศุข คลินิก หรืออุทยานบวร ศุข นั่นเอง …และที่สำคัญที่สุด ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นที่ตัวเราต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ เท่ากับ หลอกลวงตัวเองและผู้อื่น หลังจากนั้นขยายผลสู่คนรอบข้าง องค์กรอื่นและสังคมภายนอกต่อไป…
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
Midway life
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Right way
เมื่อต้องเจอสภาวะ จากเหตุปัจจัยที่เป็นมิจจาปฏิปทา ผลักดันให้ทำไม่ดี ไม่งาม การเกิดปัญญา เป็นหลักธรรมที่กำกับเราให้รู้แจ้ง สิ่งดี ไม่ดี สิ...
-
มนุษยชาติ ดำรงชีวิตแตกต่างจากสัตว์อื่น ด้วยการวิวัฒนาการของสมองนั่นเองที่ทำให้มนุษย์มีความสารถเรียนรู้และปรับตัวสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปล...
-
ซิสุ คือ ความสามารถ ในการทนต่อความเครียดมหาศาล ในขณะที่ลงมือต่อสู้กับเหตุการณ์ ที่ดูเหมือนจะเอาชนะไม่ได้ ซิสุ คือการใช้ชีวิต ...
-
เมื่อต้องเจอสภาวะ จากเหตุปัจจัยที่เป็นมิจจาปฏิปทา ผลักดันให้ทำไม่ดี ไม่งาม การเกิดปัญญา เป็นหลักธรรมที่กำกับเราให้รู้แจ้ง สิ่งดี ไม่ดี สิ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น